วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 3

การเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
รหัสวิชา 1061601 ครั้งที่ 4 :12 กรกฎาคม 2552

- ช่วงเช้าอาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาในหนังสือเรียน และเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และในช่วงบ่ายมีการจับคู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรมถาม - ตอบ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน กิจกรรมในครั้งนี้ทำให้มีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งตื่นเต้น ทั้งสนุกสนาน ฯลฯ คิดตามในทุกข้อที่เพื่อนถาม และได้ความรู้กระจ่างมากขึ้น บางคำถามที่เพื่อนถาม - ตอบ อาจจะไม่ชัดเจน แต่อาจารย์ก็เพิ่มเติมจนได้คำตอบที่ชัดเจน สุดท้ายขอบอกว่าเรียนกับอาจารย์คุ้มจริง ๆ ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจริง ๆ จากสิ่งที่ไม่ค่อยรู้ ก็รู้มากขึ้น เพราะอาจารย์อธิบาย ให้เหตุผลได้ชัดเจนและเข้าใจมากค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

หัวข้อวิจัย การพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตด้วยการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาตาม
หลักสติปัฏฐาน 4

ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิมล ห้องเสงี่ยม
รองศาสตราจารย์ ดร. นงนุช กุลบุญ


สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ปีการศึกษา 2547


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อการพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยเปรียบเทียบคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมในพระพุทธศาสนาของนักศึกษากลุ่มเดียวกัน ก่อน และ หลัง การฝึกปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 ที่กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างเข้าฝึกปฏิบัติเป็นเวลา 7 วัน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ที่เข้าใหม่ในต้นปีการศึกษา 2545 ทุกคน (ยกเว้นผู้ที่นับถือศาสนามุสลิม) จำนวน 120 คน จาก 4 โปรแกรมการศึกษา คือ ธุรกิจศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา การประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยขอคำปรึกษาจากพระวิปัสสนาจารย์ และวิทยากรผู้สอนการปฏิบัติวิปัสสนามานาน แบบสำรวจนี้ใช้สำรวจคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมฯ 6 ประการ ได้แก่ ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 ความตั้งใจมั่นละเว้นการกระทำในทางชั่ว ความตั้งใจมั่นในการทำความดี การพัฒนาลักษณะนิสัยประจำตัว ความเชื่อมั่นในหลักธรรมสำคัญ และประสบการณ์เกี่ยวกับสภาวะธรรม รวม 57 ข้อ
ข้อมูลที่ได้จากทั้งก่อนและหลังการฝึกปฏิบัตินำมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเอสพีเอสเอส ใช้สถิติพื้นฐาน หาค่าเฉลี่ย หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำค่าเฉลี่ยของแต่ละคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมฯ ของกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้าฝึกปฏิบัติฯ กับ หลังจากฝึกปฏิบัติแล้ว มาเปรียบเทียบความแตกต่าง
การศึกษาวิจัยพบว่า หลังจากฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 คุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นทั้ง 6 ประการ ดังนี้
1. ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 พัฒนาจากระดับปานกลาง 2.74 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมาก 4.17 หลังจากการฝึกปฏิบัติ
2. ความตั้งใจมั่นละเว้นการกระทำในทางชั่ว พัฒนาจากระดับมาก 4.30 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมากที่สุด 4.72 หลังจากการฝึกปฏิบัติ
3. ความตั้งใจมั่นในการทำความดี พัฒนาจากระดับมาก 3.73 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมากที่สุด 4.53 หลังจากการฝึกปฏิบัติ
4. การพัฒนาลักษณะนิสัยประจำตัว พัฒนาจากระดับปานกลาง 2.99 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมาก 4.22 หลังจากการฝึกปฏิบัติ
5. ความเชื่อมั่นในหลักธรรมสำคัญ พัฒนาจากระดับมาก 4.12 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมากที่สุด 4.68 หลังจากการฝึกปฏิบัติ
6. ประสบการณ์เกี่ยวกับสภาวะธรรม พัฒนาจากระดับน้อย 1.86 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมาก 3.54 หลังจากการฝึกปฏิบัติ

ภาพรวมของคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมทั้ง 6 ประการของนักศึกษาพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยพัฒนาจากระดับปานกลาง 3.24 ก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ ขึ้นเป็นระดับมาก 4.40 หลังจากการฝึกปฏิบัติ

นอกจากนี้ยังพบว่าความพอใจ และความสนใจที่จะสนับสนุนโครงการนี้ของกลุ่มตัวอย่างหลังจากที่ได้มีการฝึกปฏิบัติแล้ว อยู่ในระดับสูง 4.26
ผลของการศึกษาวิจัยบ่งชี้ว่า การปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 พัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมฯ ของนักศึกษาไปในทางที่ดีขึ้นในทุก ๆ ประการ สมดังสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะทางจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. การฝึกปฏิบัติวิปัสสนาของกลุ่มตัวอย่างจะมีคุณภาพจนเกิดผลดีในทางการปฏิบัติส่งผลให้พัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมไปในทางที่ดีได้มากเพียงไร ขึ้นอยู่กับพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรที่มีความสามารถสูง ดังนั้นการเลือกพระวิปัสสนาจารย์ และ วิทยากร เป็นสิ่งสำคัญ
2. ความรับผิดชอบ ความมีวินัยของผู้ปฏิบัติ มีผลต่อการปฏิบัติให้มีคุณภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมฯ ควรมีการปฐมนิเทศทำความเข้าก่อนการฝึกปฏิบัติ
3. ธรรมบรรยาย กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติต้องเกี่ยวเนื่องด้วยวิปัสสนาตามหลักสติปฏิฐาน 4 เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ไม่สับสน
4. สถานที่ต้องกว้างขวางพอที่จะทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติ ปฏิบัติได้สะดวกไม่แออัด จนรบกวนซึ่งกันและกัน ไม่มีเสียงรบกวนทั้งในห้องปฏิบัติ ห้องนอน ห้องอาหาร จำนวนผู้ปฏิบัติที่มากเกินไปทำให้ผู้ปฏิบัติเก็บอารมณ์วิปัสสนาฯ ได้ยาก ทั้งพระวิปัสสนาจารย์ก็อำนวยการฝึกยากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
สุวิมล ห้องเสงี่ยม และนงนุช กุลบุญ.(2547).การพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตด้วยการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สิ่งที่ได้เรียนรู้/ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า

1. ใด้ทราบถึงวิธีการค้นหา/สืบค้นข้อมูลงานวิจัยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่เราต้องการ

2. ได้ทราบถึงวิธีการ/รูปแบบและเค้าโครงในการเขียนงานวิจัยที่ถูกต้องว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไปได้

3. ได้รู้และเข้าใจวิธีการเขียนแหล่งอ้างอิงของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยในอนาคต

4. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปใช้ในการทำงานวิจัยและไปพัฒนาการศึกษาในอนาคตได้

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

การเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
รหัสวิชา 1061601 ครั้งที่ 2-3 : 13-14 มิถุนายน 2552
(สรุปบทที่ 3 - 6)
- การเรียนในครั้งนี้ เรียนที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์หัวหิน ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษานั่งประจำที่เครื่องคอมพิวเตอร์คนละ 1 เครื่อง เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีการทำ BLOG ของตนเอง ซึ่งเริ่มแรกก็รู้สึกว่ายาก แต่เมื่อทำไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น มีความสนุกสนานเพลิดเพลินและมีความภูมิใจที่มี BLOG เป็นของตนเองซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ได้และเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เริ่มแรกก็ตามอาจารย์ไม่ทันไปบ้างในบางช่วง ก็พยายามถามอาจารย์บ้าง ถามเพื่อนข้าง ๆ บ้าง ก็พอจะตามทันอยู่ ช่วงที่ตามไม่ทันนั้น อาจจะเป็นเพราะเกิดความสับสนกับรหัสผ่านเล็กน้อย แต่ก็พยายามทำไปเรื่อย ๆ และครั้งนี้มีความประทับใจอาจารย์มาก เพราะอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาด้วยความเต็มใจ โดยให้ความรู้/คำแนะนำ และดูแลนักศึกษาทุกคนอย่างใกล้ชิด เป็นกันเองกับทุกคน จนทุกคนก็มี BLOG เป็นของตนเอง ถึงแม้งานจะยังไม่เสร็จพร้อมส่งอาจารย์ในวันนี้(13 มิ.ย.52) แต่อาจารย์ก็ให้โอกาสนักศึกษาทำต่อในวันรุ่งขึ้น(14 มิ.ย.52) จนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีค่ะ
บทที่ 3 : การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
สารสนเทศเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจได้ถูกต้องและมีความเสี่ยงน้อยลง เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้บริหารไม่มีสารสนเทศช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่เหมาะสม เมื่อผู้บริหารตัดสินใจเลือกทางเลือกใดไปแล้วย่อมมีความเสี่ยงต่อผลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจถูกต้องหรือผิดพลาดได้ ถ้าการตัดสินใจถูกต้องก็จะเกิดผลดีต่อองค์กร แต่ถ้าการตัดสินใจผิดพลาดก็จะเกิดความเสียหายและเกิดผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร
บทที่ 4 : เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญ และมีบทบาทต่อการทำงานในทุกระดับ ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจอย่างมาก
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมความเป็นอยู่
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทางด้านการเมือง เช่น การเตรียมข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมืองต่าง ๆ
เทคโนโลยีสมัยใหม่
มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสารสนเทศมากมาย
เทคโนโลยีสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การใช้เทคโนโลยีในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2. การลดต้นทุนการผลิต
3. การเพ่มผลผลิต
4. การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผล
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการที่สอนในระดับปริญญาตรี
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI Webblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
องค์ประกอบของการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา
1. โครงสร้างองค์กร (Structure)
2. บุคลากร (People)
3. กระบวนการ (Process)
4. กลยุทธ์และยุทธวิธี (Strategv)
5. เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information)
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์
การจัดระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในปัจจุบัน ได้ก้าวสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ(Web Besed Learning) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
2. การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์(e-learning) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บ ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วีดีโอแนะนำตนเอง

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1


การเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
รหัสวิชา 1061601 ครั้งที่ 1 : 31 พฤษภาคม 2553

3.1 ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชา 1061601

ผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา 1061601 : สัปดาห์ที่ 1 อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศหลายเรื่อง

ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง E – mail เพราะปกติไม่ค่อยได้สนใจเรื่อง E – mail สักเท่าไร
และมาในวันนี้ ก็ได้ รับรู้เรื่อง E – mail จากอาจารย์ จึงทำให้เกิดความกระจ่างมากขึ้น ซึ่งอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกันเอง และใน
ช่วงบ่ายให้ส่งตัวแทนกลุ่ม ๆ ละ 3 คน เพื่อไปรับเรื่องจากอาจารย์แล้วก็มาถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้รู้แล้วก็ไปปฏิบัติ
จริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งจากการที่ได้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันกับเพื่อน ๆ นัน รู้สึกประทับใจเพื่อนๆ มาก จากเดิม
ไม่เครู้จักกันมาก่อน พอได้ร่วมกิจกรรมกันก็เริ่มรู้จักและสนิทกันมากขึ้น มีการช่วยเหลือกันและกัน พี่สอนน้อง น้องสอนพี่
เพื่อนสอนเพื่อน จนสามารถทำงานส่งอาจารย์ได้เรียบร้อย

3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา

1. เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สามารถ
สืบค้นข้อมูลจากแหล่ง
ความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา
2. พัฒนาการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น
3. เปลี่ยนบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน จะทำให้บทบาทของ
ผู้สอนปรับเปลี่ยนไปจาก
การเน้นความเป็น “ผู้สอน” มาเป็น “ผู้แนะนำ” มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเป็นการเรียนรู้ “เชิงรุก” มากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัย บวกที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
ได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อเทียบกับการ

ติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
- การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตมีข้อดี คือ ให้ความสะดวกสบายและรวดเร็ว เช่น
บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถสืบค้นได้ง่าย หรือโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ รับส่ง ข่าวสารได้ทั้งแบบตัวอักษร ภาพ และเสียงทำให้การติดต่อสื่อสารไม่มีขีดจำกัด ข้อเสียของการใช้งาโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตคือ อันตรายจากไวรัสต่างๆที่มากับบริการ เวิลด์ไวด์เว็บ
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางตรงกันข้าม การติดตั้ง โปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีความเสี่ยงต่ออันตรายดังกล่าวน้อยกว่าการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต เพราะการใช้โปรแกรมไม่ได้มีระบบอินเตอร์เน็ตมาเกี่ยวข้อง จึงมีความปลอดภัยมากกว่า แต่ข้อเสีย หรือจุดด้อยคือความรวดเร็วความสะดวกสบายย่อมมีน้อยกว่าโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต


วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาพประทับใจ








ภาพความประทับใจ : ภาพที่ 1

ภาพนี้เป็นภาพที่ข้าพเจ้าประทับใจ ซึ่งเป็นภาพหลานชายสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์หัวหิน เพราะตอนที่หลานชายจะเข้าศึกษาต่อ ก็ได้ปรึกษากับข้าพเจ้า ว่าจะเข้าศึกษาต่อที่ไหนดี ข้าพเจ้าจึงแนะนำให้เข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต แห่งนี้ และในระหว่างที่หลานชายได้เข้าศึกษาอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็เป็นที่ปรึกษาอยู่ตลอดระยะเวลาจนมาถึงวันนี้วันที่หลานชายประสบความสำเร็จ คือได้รับปริญญาบัตรซึ่งเป็นความภูมิใจและประทับใจมาก และคิดอยู่ว่าเมื่อไหร่ที่ข้าพเจ้าจะได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้บ้าง แต่ก็ยังมีความใฝ่ฝันและคิดอยู่เสมอว่า "ฝันให้ไกล แล้วต้องไปให้ถึง" ขณะนี้ข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อ ณ ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งกว่าจะได้เข้าศึกษาต่อก็ต้องรอ
เวลาอยู่นาน ทั้งนี้ ข้าพเจ้าก็จะสานฝันให้ประสบความสำเร็จต่อไป จึงขอฝาก
ทุกท่านว่า เมื่อเรามีโอกาสที่จะศึกษาต่อก็ควรรีบไขว่คว้า เพราะเวลาไม่รอใคร
แล้วก็ไม่มีใครแก่เกินเรียน เพราะความรู้นั้น ซื้อ-ขาย กันไม่ได้หรอกค่ะ


ภาพความประทับใจ : ภาพที่ 2
ภาพนี้เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเข้าศึกษาดูงานร่วมกับเพื่อน ๆซึ่งได้เข้ารับการอบรมหลักสูตร นักวิชาการศึกษา รุ่นที่ 8 ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาประจำรุ่นได้พาไปศึกษาดูงานจากต่างจังหวัดฯ โดยแบ่งกลุ่มทำงาน และให้เก็บข้อมูลการศึกษาดูงานในครั้งนี้ให้ได้มาก ที่สุด เพราะหลังจากการศึกษาดูงานแล้ว ให้แต่ละกลุ่มสรุปผล การศึกษาดูงานส่งอาจารย์ ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆจึงแบ่งงานกันทำ เพื่อเก็บข้อมูล แล้วสรุปรวมกัน ซึ่งเพื่อน ๆ ทุกคนต่างมีความ กระตือรือร้น มีความตั้งใจ ช่วยเหลือกันและกัน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข งานก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอฝากทุกท่านว่า คนเราทุกคนจะทำงานคนเดียว จะอยู่คนเดียว นั้น คงจะอยู่ยาก เพราะฉะนั้น เราทุกคนควรเป็นมิตรที่ดีต่อกัน เราก็จะอยู่ด้วยกัน ในสังคมอย่างมีความสุขค่ะ




ประวัติ


ชื่อ นางสาวยุพา ทรายละเอียด

ชื่อเล่น ตุ๊ก

วัน/เดือน/ปีเกิด 19 เมษายน 2515

ที่อยู่ 198 หมู่ที่ 3 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150

เบอร์โทรศัพท์ 087 - 1256123

อาชีพ รับราชการ (พนักงานส่วนตำบล)

สถานที่ทำงาน องค์การบริหารส่วนตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150

ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา

เบอร์โทรศัพท์ 0 - 3282 - 0540

เบอร์โทรสาร 0 - 3282 - 0541

สถานที่ติดต่อ 198 หมู่ที่ 3 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150